Photobucket

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทเรียนสำเร็จรูป

บทเรียนสำเร็จรูป


ความหมาย
             บทเรียนสำเร็จรูป หมายถึง บทเรียนที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียน รู้ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ในแต่ละสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแต่ละบทเรียน โดยเริ่มจากเนื้อหาสาระที่ง่าย ๆ ไปสู่เนื้อหาที่ยากขึ้นไปตามลำดับ เป็นบทเรียนที่สร้างขึ้นโดยกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการ และสื่อการเรียนการสอนไว้ล่วงหน้า ผู้เรียนสามารถศึกษา ค้นคว้า และประเมินผลการเรียนด้วยตนเองตามขั้นตอนที่กำหนดไว้

จุดมุ่งหมายของบทเรียนสำเร็จรูป
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเต็มความ สามารถ โดยครูคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือเมื่อผู้เรียนมีปัญหา
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตามลำดับขั้น จากง่ายไปหายาก
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประเมินตนเอง และทราบถึงพัฒนาการในการเรียนรู้ของตนเอง
4. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจ เมื่อประสบความสำเร็จในการเรียนรู้

หลักการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป
1. ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม หรือมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม
2. ผู้เรียนได้ประเมินตนเอง และรู้คำตอบได้ทันที
3. มีการเสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจเมื่อสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง และมีความพยายามที่จะแก้ไขส่วนที่บกพร่อง
4. ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปที่ละลำดับ จากง่ายไปยากตามศักยภาพและความสามารถของ แต่ละคน

ลักษณะของบทเรียนสำเร็จรูป
            ลักษณะสำคัญของบทเรียนสำเร็จรูป คือ การออกแบบการบรรจุเนื้อหาและสาระการเรียนรู้ออกเป็น กรอบ (Frame) ซึ่งเนื้อหาและสาระการเรียนรู้ดังกล่าวนั้นจะนำมาจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ ย่อย ๆ แล้วบรรจุเนื้อหาสาระการเรียนรู้หน่วยย่อย ๆ ดังกล่าวลงไปในกรอบแต่ละกรอบให้มีความสัมพันธ์และเรียงลำดับเนื้อหาจากง่าย ไปยาก  กรอบสาระการเรียนรู้ (Frame) ในแต่ละกรอบของบทเรียนสำเร็จรูปประกอบด้วย
1. การอธิบายเนื้อหา
2. แบบประเมินผลก่อนเรียน
3. เนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้
4. คำถาม
5. เฉลยคำตอบ
6. แบบประเมินผลหลังเรียน

ชนิดของกรอบในบทเรียนสำเร็จรูป
         กรอบสาระการเรียนรู้ในบทเรียนสำเร็จรูปกำหนดไว้ 4 ชนิด ดังนี้
1. กรอบตั้งต้น (Set Frame) เป็นกรอบที่เป็นเสมือนกรอบนำเข้าสู่บทเรียน ในกรอบนี้จะเป็นข้อมูลการเรียนรู้หลักการ ทฤษฎี และคำถามง่าย ๆ ที่กำหนดให้ผู้เรียนตอบคำถามได้ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้กำลังใจหรือเสริมแรงให้มีความสุขกับการเรียนรู้
2. กรอบฝึกหัด (Practice Frame) เป็นกรอบที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกหัดทำกิจกรรมที่มีเนื้อหาสาระเชื่อมโยง มาจากรอบตั้งต้น ในกรอบฝึกหัดนี้เป็นกรอบสำหรับการฝึกทักษะเช่น การอ่าน การคิด การวิเคราะห์ และการเขียน ซึ่งเนื้อหาสาระการเรียนรู้จะเพิ่มมากขึ้นกว่ากรอบตั้งต้น
3. กรอบรองกรอบส่งท้าย (Sub-Terminal Frame) เป็นกรอบการเรียนรู้ก่อนที่จะถึงกรอบการเรียนรู้ สรุป ที่ผู้เรียนได้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้มาตามลำดับ โดยมีเนื้อหาสาระที่เข้มข้นขึ้นทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนใกล้จะสรุปองค์ความ รู้ที่สมบูรณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้จากบทเรียนสำเร็จรูปได้อย่างชัดเจน ถูกต้อง
4. กรอบส่งท้าย (Terminal Frame) เป็นกรอบสาระการเรียนรู้สรุปสุดท้าย หรือกรอบจบของบทเรียนสำเร็จรูป เป็นกรอบที่มีเนื้อหาสาระเข้มข้น และยากกว่ากรอบสาระการเรียนรู้อื่นที่ผ่านมา

ชนิดของบทเรียนสำเร็จรูป
              ในปัจจุบันบทเรียนสำเร็จรูปที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มี 3 ชนิด ได้แก่
1. บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง (Linear Programme)
2. บทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา (Branchine Programme)
3. บทเรียนสำเร็จรูปแบบไม่แยกกรอบ
บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง (Linear Programme)
            บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรงจะจัดทำเป็นกรอบเนื้อหาสาระเรียงลำดับไว้ตั้งแต่กรอบที่ 1-2-3จนถึงกรอบจบ ตามที่ผู้สอนได้ออกแบบไว้ ลักษณะกรอบเนื้อหาสาระสำหรับการเรียนรู้จะมีลักษณะดังนี้ 


กิจกรรมการเรียนรู้ของบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง
             การ เรียนรู้ตามบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง ผู้เรียนจะเริ่มต้นกิจกรรมการเรียนรู้ในกรอบเนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่ 1-2-3-4 หรือมากกว่านี้ตามลำดับต่อเนื่องกันไปจนถึงกรอบเนื้อหาสาระสุดท้ายซึ่งเป็น กรอบจบ มีคำถามเสมอว่าการเรียนรู้ตามบทเรียนสำเร็จรูปจะเรียนรู้ข้ามกรอบได้หรือไม่ คำตอบก็คือไม่ได้ เพราะผู้สอนได้ออกแบบเนื้อหาสาระการเรียนรู้จากง่ายไปหายาก ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดจะสานสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไป ถ้าข้ามกรอบการเรียนรู้ใดกรอบการเรียนรู้หนึ่ง เนื้อหาสาระจะขาดหายไป การเรียนรู้ก็จะไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ลักษณะเด่นของบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรงก็คือผู้เรียนเก่งจะเรียนรู้ได้ เร็วและจบเร็ว การทำบทเรียนก็ง่าย เพราะแต่ละกรอบสาระการเรียนรู้จะบรรจุเนื้อหาสาระไม่มากนัก
บทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา (Branchine Programme)
           บทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขาเป็นบทเรียนที่มีการจัดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ เป็นกรอบการเรียนรู้หลัก (กรอบยืน) เหมือนบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง แต่มีความแตกต่างเพิ่มเติมตรงที่นอกจากจะมีกรอบสาระการเรียนรู้หลักแล้ว จะมีกรอบสาระการเรียนรู้สาขาเพิ่มเติมหรือกรอบสาระการเรียนรู้สาขาเข้ามา

 กรอบสาระการเรียนรู้สาขา
            กรอบ สาระการเรียนรู้สาขาเป็นกรอบที่มีเนื้อหาสาระการเรียนรู้พื้นฐานเพิ่มเติม แก่ผู้เรียนที่ยังขาดความพร้อมยังไม่เข้าใจเนื้อหาสาระหรือยังไม่พร้อมที่จะ เรียนรู้ในกรอบต่อไปในแต่ละกรอบสาระการเรียนรู้หลัก จะมีกรอบสาขาการเรียนรู้ 1 หรือ 2 กรอบเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนที่ตอบคำถามผิดพลาดได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้เพิ่ม เติมในกรอบสาระการเรียนรู้สาขา





บทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขายังมีอีกหลายรูปแบบ ดังนี้



           
กรอบสาขาดังกล่าวนี้เรียกว่า Remedial Loops ถ้าผู้เรียนไม่สามารถตอบคำถามในกรอบสาระการเรียนรู้หลักได้แล้วจะต้องเข้าไป ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมในกรอบสาระการเรียนรู้สาขาที่แตกแขนงออกมาตั้งแต่สอง สาขาขึ้นไป ศึกษาสาระการเรียนรู้สาขาแรกแล้วก็สามารถกลับไปศึกษาในกรอบสาระการเรียนรู้ หลักได้ในทันที แต่ถ้ายังไม่ผ่านก็ศึกษาในสาระการเรียนรู้สาขาอื่น ๆ จนพร้อมแล้วจึงกลับไปศึกษาและทดสอบในกรอบสาระการเรียนรู้หลักอีกครั้ง เมื่อผ่านแล้วก็ศึกษาในกรอบฯ ถัดไป

           
กรอบสาขาลักษณะนี้เรียกว่า Secondary Tracks เมื่อผู้เรียนศึกษาเรียนรู้ในกรอบสาระการเรียนรู้ที่ 1 และสามารถตอบคำถามได้ก็ผ่านไปเรียนรู้ในกรอบฯ ที่ 2 ถ้าไม่ผ่านต้องกลับไปศึกษาในกรอบฯ สาขา 1 ถ้าตอบได้ถูกต้องก็ไปเรียนในกรอบฯ ที่ 2 แต่ถ้าตอบผิดก็ต้องไปเรียนในกรอบสาขาฯ 2 จนกว่าจะผ่าน
          

กรอบสาขาประเภทนี้เรียกว่า Gate Frame เมื่อศึกษาในกรอบสาระการเรียนรู้ 1 แล้ว สามารถที่จะข้ามกรอบฯ ไปข้างหน้าได้หลายกรอบ แต่เมื่อข้ามกรอบฯ ไปแล้วไม่สามารถตอบคำถามในกรอบฯ ที่ข้ามได้ต้องถอยกลับคืนไปกรอบฯ ที่ 1 เพื่อศึกษาเพิ่มเติมอีกครั้ง เป็นต้น
บทเรียนสำเร็จรูปแบบไม่แยกกรอบ
            บท เรียนสำเร็จรูปแบบไม่แยกกรอบ เป็นบทเรียนสำเร็จรูปที่มีการนำเสนอเนื้อหาสาระเพิ่มขึ้นทีละน้อยตามลำดับ ขั้น ในบทเรียนจะมีแบบทดสอบและแบบเฉลยให้ตรวจสอบได้ในทันทีเหมือนบทเรียนสำเร็จ รูปแบบที่ 1-2 หากแต่การนำเสนอเนื้อหาสาระไม่นำเสนอในรูปของกรอบ เนื้อหาที่นำเสนอต้องต่อเนื่องกัน เหมือนกับการเขียนตำราหรือบทความ


ขั้นตอนในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป
ธีระชัย  ปูรณโชติ  ( 2539  : 27  -36 ) ได้กำหนดขั้นตอนในการสร้างแบบเรียนบทเรียนสำเร็จรูปมีขั้นตอนในการสร้างดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1   ศึกษาวิธีการเขียนบทเรียนสำเร็จรูปชนิดต่างๆจนเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งทั้งจากตำราและการไต่ถามผู้รู้
ขั้นที่ 2   กำหนดและเลือกวิชาที่จะเขียนและระดับชั้นที่จะใช้ในบทเรียนสำเร็จรูปนั้น
ขั้นที่  3     เลือกหน่วยการเรียนว่าจะเขียนในเรื่องใด
ขั้นที่  4  กำหนดหัวเรื่องต่างๆ ที่จะเขียนโดยศึกษาจากหลักสูตรประมวล การสอน     โครงการสอน  คู่มือครู  และหนังสือเรียนว่าหลักสูตรกำหนดให้นักเรียนเรียนอะไรบ้างแล้วเลือก    หัวเรื่องที่จะเขียนสำหรับขั้นที่ หนึ่งถึงขั้นที่สี่นั้น  ผู้สร้างบทเรียนควรพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง   เสียก่อนคือ ความเหมาะสมที่จะสร้างเป็นบทเรียนสำเร็จรูปและควรเขียนเป็นบทเรียนสำเร็จรูปประเภทใด
ขั้นที่ 5     ศึกษาลักษณะของผู้เรียน ได้แก่อายุ ระดับขั้น พื้นฐาน ความรู้เดิมและทักษะที่นักเรียนเคยได้รับการฝึกฝนมาก่อน ทั้งนี้เพราะบทเรียนโปรแกรมมีหลักการสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้ เรียนในด้านต่างๆ
ขั้นที่ 6    ตั้งจุดมุ่งหมายสำหรับบทเรียนโปรแกรมที่จะเขียนโดยจะต้องตั้งจุดมุ่งหมาย เฉพาะการตั้งจุดมุ่งหมายนี้จะเป็นแนวทางในการเขียนกรอบต่าง ๆ ในบทเรียนเป็นอย่างดีและยังเป็นประโยชน์ต่อการสร้างแบบทดสอบ  ซึ่งจะใช้ทดสอบกับนักเรียนก่อนเรียนและ      หลังเรียนบทเรียนแล้วด้วย
       ในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป  สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การตั้งวัตถุประสงค์ของบทเรียนสำเร็จรูปว่า หลังจากที่ได้เรียนจบบทเรียนแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้นในตัว ของ    ผู้เรียนอย่างไรบ้างโดยที่พฤติกรรมต่างๆนั้นควรเป็นพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้ว่าผู้เรียน  มีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง เมื่อการเรียนจบลงแล้ว  การเขียนวัตถุประสงค์ของการเรียน   การสอนควรแยกกล่าวเป็นข้อๆ เพื่อให้วัตถุประสงค์นั้นเด่นชัดขึ้น และต้องบรรยายด้วยถ้อยคำที่ทำให้ตีความหมายที่ได้ชัดเจนรัดกุม มองเห็นภาพของการแสดงออกของผู้เรียนได้ ตัวอย่างของ         พฤติกรรมที่สังเกตและวัดได้ เช่น เขียน, บอก,อธิบาย,จำแนก,สร้าง,เปรียบเทียบ,ทดลอง,พิสูจน์,สรุป เป็นต้น และควรกำหนดเงื่อนไขของการสังเกตพฤติกรรมออกมาให้เห็นภายใต้เงื่อนไขอันใด เช่นโดยกำหนดปัญหาให้, โดยไม่ต้องเปิดดูหนังสือ,โดยไม่กำหนดสูตรให้
     นอกจากนี้ควรกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำลงไปด้วยว่า ความสำเร็จขั้นใดจึงจะเป็นที่ยอมรับโดยอาจกำหนดเวลาในการทำบทเรียนหรือแบบ ทดสอบ หรือวางเกณฑ์มาตรฐานออกมาในรูปของ  ร้อยละหรือสัดส่วน เช่น เมื่อผู้เรียนจบบทเรียนแล้วจะต้องมีความรู้คิดเป็นร้อยละเท่าใดซึ่ง       การกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำนี้ควรกำหนดไว้ก่อนที่จะทำการเรียนการสอน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้สอน  เกิดการลำเอียงได้
ขั้นที่ 7 วางโครงเรื่องที่จะเขียนเป็นลำดับเรื่องราวก่อนหลังจากง่ายไปหายากเพราะบท เรียนโปรแกรมจะต้องแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนๆ ย่อยๆ และแต่ละตอนจะตั้งต่อเนื่องสัมพันธ์กัน
ขั้นที่ 8  ลงมือเขียนบทเรียนสำเร็จรูปตามจุดหมายที่วางเอาไว้ โดยแบ่งบทเรียนออก เป็นตอนๆ หรือบททั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ เป็นการแบ่งความรู้เป็นหมวดหมู่ เพื่อนักเรียนจะได้เข้าใจ และจดจำได้ง่ายแล้วดำเนินการเขียนกรอบต่างๆในบทเรียนตามหลักการเขียนบทเรียน โปรแกรม การเขียนกรอบในบทเรียนจะเริ่มด้วยกรอบให้ความรู้ ติดตามด้วยกรอบฝึกหัด และกรอบทดสอบเป็นตอนๆไปจำนวนกรอบจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับผู้เรียน ถ้าเป็นบทเรียนสำหรับเด็กเก่ง จำนวนกรอบอาจจะน้อยกว่าบทเรียนสำหรับเด็กอ่อนก็ได้
ลักษณะของกรอบควรเป็นดังนี้
1.  เนื้อหาในแต่ละกรอบจะต้องแบ่งเป็นขั้นที่เล็กมาก  และไม่ควรมีความรู้ใหม่เกิน 1 อย่าง
2. จะต้องเรียงลำดับกรอบอย่างระมัดระวัง จากง่ายไปหายาก และให้มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน ไม่ขาดตอนหรือกระโดดข้าม
3. มีการแนะให้อย่างถูกต้องเหมาะสมไม่แนะทางมากจนเกินไป
4. ไม่บรรยายอย่างเพ้อเจอ
5.  มีการย้ำซ้ำทวนบ่อยๆ
6.  มีการตั้งคำถาม และกระตุ้นให้ผู้เรียนหาคำตอบทีเหมาะสม
7. มีการเฉลยคำตอบทันที เพื่อให้ผู้เรียนทราบผลว่าคำตอบของตนถูกหรือผิด

ขั้นที่  9   ถ้าเป็นไปได้ควรนำบทเรียนสำเร็จรูปที่เขียนเสร็จแล้วไปให้เพื่อนครูที่
สอนวิชานั้นๆ หรือผู้ทรงคุณวุฒิอ่านและให้ข้อติชม เพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุรกรอบต่างๆ ในบทเรียนให้ดียิ่งขึ้น
ขั้นที่ 10   นำบทเรียนที่ปรับปรุงและเห็นว่าเรียบร้อยแล้วมาโดยยังไม่ใส่คำตอบของคำถาม ต่างๆ เพื่อที่จะนำบทเรียนนี้ไปทดลองใช้กับนักเรียนในขั้นทดลองหนึ่งต่อหนึ่ง หรือที่เรียกว่าการทดลองขั้นหนึ่งคน
ขั้นที่ 11  สร้างแบบทดสอบขึ้นชุดหนึ่งตามจุดมุงหมายที่วางเอาไว้ให้ครบถ้วน และ ครอบคลุมทุกเรื่องตามบทเรียน บทเรียนตอนใดมีเนื้อหามากก็ออกข้อสอบให้มาก บทเรียนตอนใดเนื้อหาน้อยก็ออกข้อสอบให้น้อย ถ้าออกข้อสอบในแนวนี้ก็จะได้ข้อสอบมีความเที่ยงตรง(validity) แบบทดสอบนี้อาจเป็นแบบให้เลือกตอบชนิดสี่หรือห้าตัวเลือกก็ได้  แบบทดสอบ         ดังกล่าวใช้ทดสอบนักเรียนก่อนบทเรียน  เพื่อจะได้ทราบว่านักเรียนมีความรู้ในบทเรียนอยู่แล้วเพียงใด และใช้ทดสอบห้องเรียนบทเรียนแล้วด้วย เพื่อได้ทราบความก้าวหน้าของนักเรียน หลังจากเรียนบทเรียนสำเร็จรูปไปแล้ว นักเรียนมีความรู้เพิ่มเติมเพียงไร มีเกณฑ์มาตรฐานกำหนดไว้ว่า หลังจากที่นักเรียนเรียนบทเรียนสำเร็จรูปไปแล้วนักเรียนควรจะต้องทำแบบทดสอบ ชุดนี้ให้ถูกต้องถึงร้อยละ 90 (90%)ภายในเวลาที่กำหนดจึงจะถือว่านักเรียนมีความรู้หลังเรียนบทเรียนแล้วอย่างแท้จริงและได้มาตรฐานที่วางไว้
      สำหรับแบบทดสอบที่สร้างขึ้นนี้จะต้องนำไปวิเคราะห์รายข้อเพื่อหาค่าความยากง่ายค่า
อำนาจจำแนก และปรับปรุงแก้ไขให้มีค่าความยากง่ายที่เหมาะสมคือระหว่าง  0.20 – 0.80  และมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไปแล้วนำไปหาค่าความเที่ยง (reliability) ของแบบทดสอบนั้น         เสียก่อน เพื่อจะได้มั่นใจว่าแบบทดสอบดังกล่าวมีความเที่ยงสูงอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้
ขั้นที่12  นำบทเรียนสำเร็จรูปที่เขียนเสร็จเรียบร้อยแล้วตามขั้นที่สิบไปทดลองใช้กับ นักเรียนหนึ่งคน โดยเริ่มใช้ทำแบบทดสอบก่อนแล้วจับเวลาไว้เพื่อจะได้ทราบว่าแบบทดสอบ     ดังกล่าวนักเรียนสามารถทำได้เสร็จภายในเวลาประมาณกี่นาที จะได้นำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการใช้จริงต่อไป เมื่อนักเรียนทำแบบทดสอบเสร็จแล้วก็ให้นักเรียนเรียนบทเรียนสำเร็จรูปที่ สร้างขึ้นนั้นโดยผู้สอนจะต้องอธิบายให้นักเรียนเข้าใจความมุ่งหมายและวิธี เรียนเสียก่อน  (บทเรียนสำเร็จรูปที่ให้นักเรียนหนึ่งคนเรียนนี้ ไม่มีคำตอบไว้ให้) นัก เรียนจะต้องอ่านบทเรียนไปทีละ กรอบทีละตอนและตอบคำถามทีละคำถาม เมื่อนักเรียนตอบแต่ละคำถามผู้สอนจะเฉลยคำตอบที่ถูกให้ทันทีทำเช่นนี้เรื่อย ไปทีละกรอบถ้านักเรียนตอบคำถามข้อใดผิด หรือไม่เข้าใจคำถามผู้สอนก็จะอภิปรายกับนักเรียนเพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขบท เรียนในกรอบนั้น หรือคำถามนั้นให้ดีขึ้น โดยผู้สร้างบทเรียนจะจดบันทึกสิ่งที่ควรแก้ไข แลละนำมาปรับปรุงแก้ไขภายหลัง ขั้นทดลองหนึ่งคนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดูความเป็นไปได้เหมาะสมของบทเรียน ตลอดจนความยากหรือง่ายเกินไปของบทเรียนด้วยเพื่อจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขให้ ดียิ่งขึ้นต่อไป การเรียนบทเรียนดังกล่าว ถ้าบทเรียนยาวมากก็อาจ   แบ่งเรียนช่วงละหนึ่งชั่วโมง แล้วพักเป็นช่วงๆไปจนกว่าจะจบบทเรียน หลังจากทำบทเรียนเสร็จและ พักหายเหนื่อยดีแล้วก็ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนซึ่งเป็นแบบทดสอบชุด เดียวกับที่ใช้ทดสอบก่อนเรียน  เพื่อเปรียบเทียบคะแนนจากการทำแบบทดสอบทั้งสองครั้งว่านักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเพิ่มขึ้นหรือไม่ ถ้าบทเรียนโปรแกรมที่สร้างขึ้นมีคุณภาพเพียงพอที่จะนำไปทดลองในขั้นต่อไป ผลการเปรียบเทียบคะแนนควรจะแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความรู้ก้าวหน้าขึ้น หลังจากเรียนบทเรียนแล้ว
ขั้นที่ 13 นำบทเรียนโปรแกรมไปทดลองกับนักเรียนกลุ่มเล็กที่เรียนอยู่ในระดับ
ปานกลาง จำนวน 10 คนซึ่งมีวิธีการเหมือนกับการทดลองในขั้นหนึ่งคนต่างกันก็แต่เพียงบทเรียนจะ มีคำตอบของคำถามไว้ให้เสร็จ มีลักษณะเหมือนบทเรียนที่จะนำไปใช้จริงๆ  นักเรียนจะต้องเรียนตามบทเรียนไปทีละกรอบ และตรวจคำกรอบของตนกับเฉลยคำตอบที่ให้ไว้ในบทเรียน และในบทเรียนแบบโปรแกรมในขั้นนี้จะเขียนคำแนะนำในการเรียนไว้ซึ่งนักเรียนจะ ต้องทำความเข้าใจกับวิธีการเรียนเสียก่อนแล้วจึงลงมือเรียนตามบทเรียน รอจนกว่านักเรียนทุกคนจะทำบทเรียนเสร็จแล้วบันทึกเวลาไว้สำหรับเป็นเวลาที่ ควรใช้ในการเรียนบทเรียนนี้ต่อไป
ขั้นที่ 14 การทดลองภาคสนามกับนักเรียน  100 คนโดยนำบทเรียนสำเร็จรูปที่ผ่านการทดลองในขั้นกลุ่มเล็ก 10 คน และปรับปรุงแก้ไขและไปทดลองใช้กับนักเรียนจำนวน 100 คนซึ่งนักเรียน  100 คนนี้ไม่เจาะจงว่าเป็นนักเรียนเก่งหรืออ่อน แต่ควรเป็นนักเรียนที่เป็น      ตัวแทนของนักเรียนทั่วไป วิธีการทดลองในขั้นนี้มีวิธีการเหมือนขั้นทดลองในกลุ่มเล็ก 10 คน    ทุกประการต่างกันที่วัตถุประสงค์   

ลักษณะเด่นที่ได้จากนวัตกรรม  
1.             เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นใหม่โดยอาศัยหลักจิตวิทยา 
2.             เป็นนวัตกรรมที่นักเรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง ทุกเวลา ทุกสถานที่  ตามศักยภาพของผู้เรียน    
3.             เป็นนวัตกรรมที่ทดลองหาประสิทธิภาพแล้วตามกระบวนการวิจัยสามารถเชื่อถือได้  
4.             เป็นนวัตกรรมที่สามรถพัฒนาต่อเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ 
             

ข้อจำกัดของบทเรียนสำเร็จรูป 
1.             การออกแบบบทเรียน  ต้องมีการออกแบบที่ดีโดยผู้เชี่ยวชาญจึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพสูงสุด 
2.             ความน่าเบื่อหน่าย     การที่เรียนแบบเดียวซ้ำ     กัน อาจทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่ายในการเรียนได้
3.          ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม  การแบบบทเรียนสำเร็จรูปเป็นการสอนรายบุคลจึงทำให้ ผู้เรียนแต่ละคนต้องหมกมุ่นกับการเรียนของตนเองและไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ อื่น  ในการเรียนในลักษณะนี้จึงไม่เหมาะสำหรับเด็กเท่าใดนัก  เพราะจะทำให้ขาดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมร่วมกับ    ผู้อื่น  และไม่ควรใช้การเรียนแบบนี้เพียงอย่างเดียว

อ้างอิง : http://panchalee.wordpress.com/2009/04/17/programinstructional1/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น