Photobucket

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บุกงาน"CES 2010" นวัตกรรม"ไอที"รับปีใหม่


มหกรรมงานแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ "CES 2010" ในนครลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา เพิ่งปิดฉากผ่านพ้นไปสดๆ ร้อนๆ เมื่อ 2 วันก่อน
   ตามธรรมเนียมของทุกปีภายในงานนี้บรรดาบริษัทไอทีชั้นนำจะขนต้นแบบ รวมถึงนวัตกรรมไฮเทคใหม่ล่าสุดมาอวดศักยภาพให้ชาวโลกได้ยลโฉมก่อนใครเพื่อน ซึ่งเทคโนโลยีเด่นในมหกรรม CES ประจำปี ค.ศ.2010 หรือพ.ศ.2553 ที่โดดเด่นเตะตาผู้เข้าชมและผู้สื่อข่าวสายไอทีมากที่สุด มีดังนี้!
 

 1.สเลต พีซี (Slate PC) โน้ตบุ๊กขนาดพกพา สั่งงานผ่านจอทัชสกรีน รุ่น "สเลต พีซี" ของ บริษัทเอชพี ซึ่งทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7 ของบริษัทไมโครซอฟท์ เป็นทั้งโน้ตบุ๊ก เครื่องมือท่องอินเตอร์เน็ต และเครื่องอ่านหนังสือดิจิตอล (อีบุ๊ก) นายสตีฟ บัลเมอร์ ผู้บริหารไมโครซอฟท์ เชื่อมั่นในประสิทธิภาพของเครื่องรุ่นนี้มากถึงขนาดลงทุนเปิดแถลงข่าวและสาธิตวิธีใช้งานด้วยตัวเองในงาน CES

 
                2.หนังสือดิจิตอล บริษัทซัมซุงเผย โฉมเครื่องอ่านหนังสือดิจิตอล (อีบุ๊ก) รุ่น "อี 6" (E6) ขนาดกระชับมือ

                3.ดูหนัง 3 มิติ เครื่องเล่นแผ่น "บลูเรย์" แบบ 3 มิติของ ค่ายพานาโซนิก วางคู่กับแว่นชมภาพยนตร์ 3 มิติ รุ่น "แอ๊กทีฟ ชัตเตอร์ 3ดี" (Active Shutter 3D)

                4.ทีวีบางเฉียบ โทรทัศน์จอภาพบางเฉียบ รุ่น "แอลอีดี 900" (LED 900) พัฒนาโดย บริษัทซัมซุง ตัวเครื่องและจอหนาไม่ถึง 3 นิ้ว หรือหนาพอๆ กับแท่งดินสอเท่านั้น และมีระบบแสดงผลเปลี่ยนภาพ 2 มิติ ให้กลายเป็น 3 มิติ

                5.ถ่ายใต้น้ำ ชุดกล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพใต้น้ำของ บริษัทลิควิด อิมเมจ เหนือชั้นกว่ากล้องใต้น้ำอื่นๆ ตรงที่สวมติดกับศีรษะได้อย่างมั่นคงและบันทึกภาพด้วยค่าความละเอียดสูง (HD)

                6.จักรยานไฟฟ้า บริษัท ซันโย ทวีปอเมริกาเหนือ เปิดตัวจักรยาน รุ่น "เอเนลลูป" (Eneloop) คนขี่ไม่ต้องออกแรงถีบเพราะเคลื่อนที่ได้ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ถ้าไฟหมดก็สามารถเปลี่ยนกลับมาถีบตามปกติ เพื่อประจุไฟฟ้าใหม่ ซันโยขนานนามผลิตภัณฑ์นี้ว่า "จักรยานลูกผสม" หรือ "ซินเนอร์เจติก ไฮบริด ไบซิเคิล"

                7.เครื่องชาร์จสารพัดประโยชน์ เครื่องชาร์จไฟฟ้าพกพา รุ่น "ออล อิน วัน" ของ บริษัท เอเนอร์ไจเซอร์ ไว้ใช้สำหรับจัมพ์ หรือพ่วงสายแบตเตอรี่รถยนต์เวลาไฟหมด และยังใช้เป็นเครื่องสูบลมยาง รวมถึงประจุไฟให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอื่นๆ

                8."จอ" งอได้ เครื่องอ่านหนังสือดิจิตอล รุ่น "สคิฟฟ์ รีดเดอร์" (Skiff Reader) ออกแบบโดย บริษัทแอลจี ดิสเพลย์ จอขาวดำดัดโค้งงอพับเก็บได้ใกล้เคียงกับสิ่งพิมพ์กระดาษทั่วๆ ไป แสดงภาพด้วยค่าความละเอียด 1,200x1,600 พิกเซล

                9."เน็ต" ทีวี ลักษณะหน้าตาโปรแกรม "คอนเน็กต์ ทีวี" (Connected TV) พัฒนาโดย บริษัทยาฮู! เจ้าของเว็บไซต์สืบค้นข้อมูลอันดับ 2 ของโลก ช่วยเชื่อมต่อโทรทัศน์เข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายดาย

                10."พีซี" ถอดได้ บริษัท เลอโนโว ประเทศจีน เกาะกระแสแท็บเล็ตพีซี หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก ออกผลิตภัณฑ์แท็บเล็ตพีซีในตระกูลเครื่อง "ไอเดียแพด ยู 1 ไฮบริด" ติดตั้งจอทัชสกรีนขนาด 11.6 นิ้ว ซึ่งดึงออกมาจากตัวเครื่องเพื่อใช้งานโดยอิสระได้เลย ส่วนหน่วยประมวลผลใช้ของอินเทล คอร์ทูดูโอและระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7

                11.เครื่องวัดพลังงาน เครื่องวัดระดับการสิ้นเปลืองและใช้พลังงานไฟฟ้าภายในบ้าน รุ่น "ไวร์เลส แอพพลายแอนซ์ แมเนเจอร์" คิดค้นโดย บริษัทโอเรกอน ไซน์ทิฟิก สหรัฐอเมริกา และบอกได้ด้วยว่าจุดไหนกินไฟเท่าไหร่จากสูงสุดถึงล่างสุด

                12.คอมพ์มือถือ "แดช โมบายล์" คอมพิวเตอร์มือถือของ โซนี่ ใช้ต่อเข้าเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตทุกที่ทุกเวลา ทั้งยังใช้เป็นเครื่องเล่นไฟล์มัลติมีเดียและอ่านหนังสือดิจิตอลได้ด้วย

                13.วิดีโอ 3 มิติ ในเมื่อกระแสทีวี 3 มิติมาแรงในปีนี้ บริษัทพานาโซนิก จึงผลิต "กล้องถ่ายวิดีโอระบบ 3 มิติ" ขึ้นมาตอบสนองความต้องการของลูกค้าผู้คลั่งใคล้การชมภาพ 3 มิติโดยเฉพาะ

                14.กล้องไว-ไฟ กล้องถ่ายรูปดิจิตอล DSC-G3 ของ บริษัทโซนี่ มีเลนส์ซูม 4 เท่า จอแอลซีดีสั่งงานด้วยการสัมผัส และระบบจับภาพใบหน้าคมชัดอัตโนมัติ แต่ความพิเศษอยู่ตรงที่มาพร้อมกับระบบเชื่อมต่อกับโครงข่ายอินเตอร์เน็ตไร้ สาย หรือ "ไว-ไฟ" ในตัว ช่วยให้การอัพโหลดภาพขึ้นเว็บไซต์ทำได้รวดเร็ว ราคาราว 17,500 บาท
 

ทายนิสัยจากผลไม้



ทายนิสัยจากผลไม้ (Teenpath)
          เลือกผลไม้มา 1 อย่าง จากตัวเลือกข้างล่างนี้ค่ะ แล้วมาดูคำเฉลยของคุณกัน
               แอปเปิ้ล
               องุ่น
               กล้วย
               แตงโม
               ชมพู่
               ส้ม
               มังคุด
               มะม่วง
               สตรอเบอรี่
               สับปะรด
               ลูกแพร
               เงาะ
               ทุเรียน
               มะพร้าว
               ฝรั่ง







         เฉลยคำตอบจากข้อที่เลือกกันค่ะ

             แอปเปิ้ล  คุณเป็นคนอดทน สู้งาน และมีความรับผิดชอบสูง  เมื่อไรก็ตามคุณได้รับมอบหมายงานชิ้นหนึ่งชิ้นใด คุณมักจะทำอย่างสุดความสามารถ ไม่ว่าจะยากลำบากมากแค่ไหน แต่สำหรับเรื่องความรักแล้วกลับตรงกันข้าม คุณเป็นคนที่รักง่าย หน่ายเร็ว ไม่ค่อยอดทนในเรื่องรัก

             องุ่น  ไม่บ่อยนักที่คุณจะเปิดเผยความรู้สึกที่แท้จริงของคุณ แก่คนที่คุณเพิ่งรู้จักครั้งแรก  ดังนั้นคุณจะดูไม่น่าสนใจนัก สำหรับคนที่ไม่รู้จักคุณดี แต่ถ้าเป็นเพื่อน ๆ ในกลุ่มของคุณล่ะก็ คุณนับเป็นดาวเด่นเลยล่ะ

             กล้วย คุณเป็นคนขี้ใจน้อย ขี้งอน แต่ไม่ค่อยแสดงออก ภายนอกดูจะเป็นคนเงียบขรึม เข้มแข็ง แต่ภายในแล้วคุณอารมณ์คุณช่างอ่อนไวเหลือเกิน จะเรียกแข็งนอกอ่อนในก็ว่าได้

             แตงโม คุณมีความตื่นตัวกระฉับกระเฉงตลอดเวลา ไม่ปล่อยเวลาให้เสียไปอย่างไร้ค่า   คุณมักจะมองโลกในแง่ดี และไม่ค่อยกังวลเกี่ยวกับ ปัญหาต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามา   เนื่องจากคุณมั่นใจว่าปัญหาทุกปัญหาย่อมมีทางแก้ เมื่อถึงเวลาที่ควร

             ชมพู่  คุณเป็นคนที่มีน้ำอดน้ำทนสูง ไม่ชอบขัดใจคนอื่น รักเพื่อนมากกว่าตัวเอง  และค่อนข้างที่จะมองโลกในแง่ร้าย

             ส้ม คุณเป็นคนที่เข้ากับคนได้ง่าย ร่าเริงสนุกสนาน ใครชวนไปไหนก็ไป เชื่อคนง่าย รู้เรื่องคนอื่นไปซะหมด แต่เรื่องตัวเองไม่ค่อยรู้

             มังคุด คุณเป็นคนช่างฝัน อารมณ์อ่อนไหว โรแมนติก ตกหลุมรักได้บ่อย ๆ ไม่มีเบื่อ เห็นใครถูกใจก็เก็บเอาไปฝัน แต่ไม่นานก็ลืม พอเจอคนใหม่ก็เป็นอีก เพลงเป็นอย่างนี้ตั้งแต่เกิดเลย ของนูโว ดูจะเหมาะกับคุณนัก

             มะม่วง  คุณเป็นคนชอบความท้าทาย มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบทดลองสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ   กับเรื่องความรักก็ไม่เว้น คุณชอบหารักใหม่ ๆ เสมอ หรือเรียกอีกอย่างว่าเจ้าชู้นั่นเอง

             สตรอเบอรี่  คุณรักความสบาย ชอบอยู่อย่างหรูหราฟู่ฟ่า ทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวต้องสวย เฉียบ เนียบ เสมอ  จัดว่าคุณมีรสนิยมในการแต่งกายไม่ใช่เล่น   คุณเป็นคนมองโลกในแง่ดี ชอบเข้าสังคม คุยสนุก และมีอารมณ์ขัน ทำให้เพื่อนในวงสนทนาหัวเราะได้ตลอดเวลา

             สับปะรด  คุณเป็นคนที่ช่างเอาอกเอาใจคน คอยเป็นห่วงเป็นใยเพื่อนของคุณตลอดเวลา   หากใครมีเรื่องทุกข์ร้อนขอให้บอก คุณยินดีช่วยเสมอ

             ลูกแพร  คุณเป็นคนสุภาพ อ่อนโยน ใจดี และมักจะมองคนที่อยู่รอบข้างคุณในแง่ดีเสมอ ไม่เคยคิดร้ายกับใคร จึงทำให้เป็นที่เคารพ รักใคร่ของผู้คนที่ได้รู้จัก

             เงาะ  คุณเป็นคนขี้เล่น อยู่ไม่ค่อยเป็นสุข ชอบแหย่คนโน้นคนนี้ที หากอยู่ในวงสนทนา  คุณก็มักจะเป็นตัวโจ๊กประจำวง คอยปล่อยมุขเด็ด ๆ ให้ได้เฮกัน

             ทุเรียน  คุณเป็นคนที่มี 2 บุคลิกในตัวเอง  อยู่นอกบ้านใคร ๆ ก็มักจะกลัวคุณ  แต่เมื่อกลับถึงบ้าน คุณจะกลายเป็นคุณหนูในทันที   คุณเป็นคนใจกว้าง เอื้อเฟื้อ ใครมีปัญหามักจะมาขอให้คุณช่วยเสมอ  และมักจะเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมของกลุ่มเพื่อน

             มะพร้าว  คุณออกจะเป็นคนเจ้าสำอาง  ไม่ชอบการใช้กำลัง และการทำงานหนัก  ไม่ชอบทำงานกลางแจ้ง  คุณเหมาะกับงานในออฟฟิศมากกว่า  ข้อดีของคุณคือ คุณเป็นคนใจเย็น ประณีต งานที่ใช้ฝีมือน่ะต้องยกให้คุณเลย

             ฝรั่ง คุณเป็นคนที่ค่อนข้างสมบุกสมบัน  ลุยไหนลุยกัน  ชอบท่องเที่ยวสูดกลิ่นไอธรรมชาติ  เป็นคนรักเดียวใจเดียว มั่นคง แต่มักจะโดนหักอกอยู่บ่อย ๆ

หัวใจทำงานอย่างไร

ระบบไหลเวียนเลือด

แรงและการเคลื่อนที่10

[MV] ฉันไม่ดีหรือเธอมีรักใหม่ : Akera

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

e-Supervision


    1.            ความหมาย
1.1      การนิเทศ (Supervision) หมายถึง การให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ เพื่อการปรับปรุงพัฒนา ให้งาน ต่างๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้
1.2      การนิเทศการสอน (Supervision of Teaching) หมายถึง กระบวนการที่มุ่งให้คำแนะนำ และความ ช่วยเหลือแก่ครูผู้สอน ในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ให้เกิดผลดีต่อการเรียนรู้ และพัฒนาการ ในด้านต่างๆ ของผู้เรียน

    2.            ความสำคัญของการนิเทศ
การ นิเทศ เป็นกระบวนการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ  ทันต่อสถานการณ์  นโยบาย การศึกษา  หลักสูตรและองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งความสำคัญของการนิเทศการสอนมีดังนี้
            2.1
เพื่อพัฒนาทางด้านวิชาการ ความรู้ นวัตกรรมทางการศึกษา หลักสูตร นโยบายการจัดการศึกษา มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
2.2 เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางการเมือง  เศรษฐกิจ และสังคม มีการปรับเปลี่ยน อยู่ตลอดเวลา
2.3 เพื่อแก้ไขปัญหาในการจัดการศึกษา  เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดการศึกษา  เพื่อก่อให้เกิด ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการศึกษา
2.4 เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษา

    3.            จุดประสงค์ของการนิเทศการสอน
การ นิเทศการสอน  เป็นกระบวนการที่คนกระทำกับคน คือผู้นิเทศกระทำกับผู้สอน  เป็นกระบวนการที่มุ่ง พัฒนากระบวนการเรียนการสอน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้
                                3.1 
เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้สอน
                                                3.1.1
ให้ข้อมูลแก่ผู้สอนในการปรับปรุงการเรียนการสอน
                                                3.1.2 
ให้ผู้สอนได้พัฒนาความรู้ ความสามารถในด้านการสอน
                                3.2 
เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
                                                3.2.1 
ส่งเสริมประสิทธิภาพด้านวิชาการของสถานศึกษา
                                                3.2.2 
ปรับปรุงคุณภาพด้านการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
                                3.3 
เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้สอน
                                                3.3.1 
มีความมั่นใจในการปฏิบัติการสอน
                                3.4 
เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างบุคคลในการทำงานร่วมกันเกี่ยวกับการนิเทศการ

    4.            ประโยชน์ของการนิเทศการสอน
ประโยชน์ของการนิเทศการสอนที่สำคัญได้แก่
4.1.1                   ช่วยพัฒนาคุณภาพครู
4.1.2                   ช่วยพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
4.1.3                   ช่วยพัฒนางานด้านวิชาการภายในสถานศึกษาให้มีคุณภาพ
4.1.4                   ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจและความมั่นใจให้กับครู
4.1.5                   ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับบุคลากร

    5.            หลักการของการนิเทศการสอน
นักการศึกษาได้ให้หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการนิเทศการสอนไว้ดังนี้
                5.1 
การนิเทศการสอน เป็นการส่งเสริมความเจริญงอกงาม  เพื่อให้ครูมีความเข้าใจในหลักวิธีการสอน ต่างๆ ใช้เทคนิควิธีการสอนอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ  สร้างสื่อและใช้สื่ออย่างถูกต้อง  มีความเชื่อมั่น  มีทัศนคติและอุดมการณ์ในการสอน
5.2  การนิเทศการสอน ยึดความถูกต้องตามหลักวิชาการ  หมายถึง  การนิเทศจะต้องดำเนินการอย่างมี ระบบแบบแผน  เป็นขั้นเป็นตอน  สามารถตรวจสอบเปรียบเทียบ กับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
5.3  การนิเทศการสอน  มีความเป็นวิทยาศาสตร์  หมายถึง สามารถพิสูจน์ได้ถึงเหตุและผลรวมทั้ง ข้อเท็จจริงต่างๆ มีการเก็บรวบรวมข้อมูล  มีการสรุปผล  สามารถอ้างอิงได้และมีความน่าเชื่อถือได้
5.4  การนิเทศการสอน  ต้องมีความยืดหยุ่น  หมายถึง ความสามารถที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกระบวนการ  วิธีนิเทศการสอนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้มากที่สุด
5.5  การนิเทศการสอน  เป็นการประสานสัมพันธ์ระหว่างงานนิเทศกับงานอื่นๆ  หมายถึง  กระบวนการ พัฒนาการสอนของครูให้ดีขึ้น และสำเร็จตามเป้าหมาย  ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งภายใน สถานศึกษาและหน่วยงานอื่น

    6.            คุณลักษณะที่ดีของผู้ทำหน้าที่นิเทศ
การนิเทศเป็นกระบวนการที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  ดังนั้นผู้ที่จะทำหน้าที่ผู้นิเทศ จะต้องมีคุณลักษณะที่ดี  ดังนี้
6.1  ด้านความรู้  ต้องมีความรู้  ความเข้าใจในหลักทฤษฎี การจัดการเรียนการสอน  ตลอดจนองค์ประกอบ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะผลโดยตรง ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน  นอกจากนี้ต้องรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคล  รวมทั้งองค์กรที่เกี่ยวข้อง
6.2  ด้านทักษะ  ต้องมีทักษะการสอนในเกณฑ์ดี  มีทักษะในการสื่อสาร  การแก้ไขปัญหา  การมองโลกในแง่ดี  และมีคุณลักษณะเฉพาะตัวที่ดีด้วย
6.3  ด้านเจตคติ  ต้องเป็นคนที่มีลักษณะนิสัยที่ดี  มีความสนใจ  ตั้งใจทำงาน  มีความรับผิดชอบ  ขยันขันแข็ง  มีความสุภาพ  เป็นกันเอง  เสียสละและอุทิศตนเพื่องาน


อ้างอิง : https://sites.google.com/a/wanthanaa.net/www2/e-supervision


สื่อการสอน


สื่อการสอน

ประวัติของสื่อ
การเริ่มต้นยุคของสื่อ กล่าวได้ว่าเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 500 ปี มาแล้ว เมื่อมีการสร้างแท่นพิมพ์หล่อตัวพิมพ์มีการประดิษฐ์สื่อประเภทที่เคลื่อน ย้ายได้ เช่น หนังสือเล่มแรก คือ The Gutenberg Bible พิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1546 การตีพิมพ์ข่าวสารเริ่มในปี ค.ศ. 1621 และในเวลาต่อมาเทคโนโลยีการพิมพ์ก็ได้มีการพัฒนาอย่างมากใน ค.ศ. 1814 มีการใช้การพิมพ์โดยพลังไอน้ำ
ในช่วง ค.ศ. 1850-1950 ได้มีการพัฒนาด้านต่าง ๆ มาก เช่น กระบวนการถ่ายภาพ เครื่องพิมพ์ดีด โทรเลข แผ่นเสียง รถยนต์ ภาพยนตร์ และอื่น ๆ ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 ความเจริญรุดหน้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน การสื่อสารโทรคมนาคมและวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ในสหรัฐอเมริกามีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการนำสื่อมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการ ศึกษา (1958) ใช้เป็นวัสดุและอุปกรณ์ประกอบการสอนตลอดจนการส่งเสริมการวิจัย และทดลองการออกแบบสื่อการศึกษาประเภทต่าง ๆ

สื่อการศึกษา (Educational Media)
สื่อ การศึกษา หมายถึง วัสดุที่เสนอเนื้อหาสาระความรู้แก่ผู้รับ ช่วยอำนวยความสะดวกในการให้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สื่อ อาจเป็นสื่อที่ให้สารสนเทศในตัวเอง หรือ อาจเป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ในการนำเสนอ การเรียนการสอนในชั้นเรียน การบริการสารสนเทศในห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง เทคนิค วิธีการ ให้ทันกับความก้าวหน้าและวิทยาการของโลกผู้สอน จำเป็นต้องใช้สื่อการศึกษา / สื่อการสอนเข้ามาช่วยผู้ เรียน อาศัยสื่อเพื่อการเรียนรู้ ค้นคว้าตัวตนเองได้ เป็นเครื่องเสริมให้สามารถรับรู้ได้ทัดเทียมกับผู้อื่น เพิ่มทักษะการศึกษา และสามารถสนองตอบต่อวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างของผู้สอนและผู้เรียนสื่อหรือวัสดุสื่อ จำแนกได้เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media) หรือสื่อพิมพ์
สื่อที่ไม่ใช่สิ่งพิมพ์ (Nonprinted Media) หรือสื่อไม่พิมพ์ แบ่งได้กว้าง ๆ คือสื่อโสตทัศน์ (Audio-Visual Media) หมายถึงสื่อที่ให้สารวนเทศด้วยการฟัง และการมองเห็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media) หมายถึงสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์

สื่อการเรียนการสอน
ใน การเล่าเรียน เมื่อผู้สอนนำสื่อมาใช้ประกอบการสอนเรียกว่า สื่อสอนการสอนและเมื่อนำมาให้ผู้เรียนใช้เรียกว่า สื่อการเรียนโดยเรียกรวมกันว่าสื่อการเรียนการสอนหรืออาจจะเรียกสั้นๆ ว่า สื่อการสอนหมายถึงสิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภูมิ รูปภาพ ฯลฯ ซึ่งเป็นวัสดุบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน หรือเป็นอุปกรณ์เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพ ที่นำมาใช้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางทำให้ การสอนส่งไปถึงผู้เรียน สื่อการสอนถือว่ามีบทบาทมากในการเรียนการสอนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินการไป ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนมีความหมายของเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกับที่ผู้สอนต้องการเรียน รู้ได้ทั้งสิ้น ในการใช้สื่อการสอนนั้นผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะคุณสมบัติของสื่อแต่ ละชนิดเพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสอนและสามารถจัดประสบการณ์การ เรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยต้องการวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อด้วย ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ประเภทของสื่อการเรียนการสอน 
สื่อโสตทัศน์
เป็น สื่อที่นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มของสื่อการเรียนการสอน โดยเป็นสื่อที่บรรจุหรือถ่ายทอดข้อมูลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการได้ยิน เสียงและเห็นภาพ สื่อที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม เช่น หนังสือตำราเรียน ภาพ ของจริง ของจำลอง จะเป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาในตัวเอง ต่อมามีการใช้เทคโนโลยีในการประดิษฐ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการถ่ายทอด เนื้อหาและเนื้อหาและวัสดุที่ใช้กับอุปกรณ์เหล่านี้ โรเบิร์ต อี. เดอ คีฟเฟอร์ (Robert E. de Kieffer) ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะที่ใช้สื่อความหมายทางเสียงและภาพรวมเรียกว่าสื่อโสตทัศน์” (audiovisual materials ในปัจจุบันมีสื่อโสตเพิ่มขึ้นมากจากที่เดอ คีฟเฟอร์ ได้กล่าวไว้ทั้ง 3 ประเภท ในที่นี้จึงขอยกตัวอย่างสื่อใหม่รวมไปในแต่ละประเภทดังนี้
 1. สื่อไม่ใช้เครื่องฉาย (no projected materials)   
เป็นสื่อที่ใช้การทางทัศนะโดยไม่ต้อง ใช้เครื่องฉายร่วมด้วย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่สื่อภาพ (illustrative materials) เป็นสื่อ ที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา เช่น ภาพกราฟิก กราฟ แผนที่ ของจริง ของจำลอง กระดานสาธิต (demonstration boards) ใช้ในการนำเสนอเนื้อหา เช่นกระดานชอล์ก กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก กระดานผ้าสำลี ฯลฯ และกิจกรรม(activates) 
2. สื่อเครื่องฉาย (projected and equipment)
เป็นวัสดุและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารด้วยภาพหรือทั้งภาพทั้งเสียง อุปกรณ์มีทั้งแบบฉายตรงและฉายอ้อมเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภท ที่ใช้เฉพาะอุปกรณ์นั้นเพื่อให้เป็นภาพปรากฏขึ้นบนจอเช่นเครื่องฉายข้าม ศีรษะใช้กับแผ่นโปร่งใส เครื่องฉายสไลด์ ใช้กับแผ่นฟิล์มสไลด์ หรือให้ทั้งภาพและเสียง เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ฟิล์ม เครื่องเล่นดีวีดีใช้กับวีซีดีและดีวีดี เหล่านี้เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจรวมเครื่องถ่ายทอดสัญญาณ คือ เครื่องแอลซีดีที่ใช้ถ่ายทอดสัญญาณจากคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นวีซีดี เข้าไว้ในเครื่องด้วยเพื่อนำสัญญาณภาพจากอุปกรณ์เหล่านั้นขึ้นจอภาพ 
     3. สื่อเสียง (audio materials and equipment)
เป็นวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการสื่อสารด้วยเสียง อุปกรณ์เครื่องเสียงจะใช้ถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะกับ อุปกรณ์นั้นเพื่อเป็นเสียงให้ได้ยิน เช่น เครื่องเล่นซีดีใช้กับแผ่นซีดี เครื่องเล่น/บันทึกเทปใช้กับเทปเสียง หรืออาจเป็นอุปกรณ์ในการถ่ายทอดสัญญาณเสียงดังเช่นวิทยุที่รับสัญญาณเสียง จากแหล่งส่งโดยไม่ต้องใช้วัสดุใดๆในการนำเสนอเสียง

สื่อแบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้
กรวยประสบการณ์” (Cone of Experiencess) โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
1) ประสบการณ์ตรง โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง และการเห็น เป็นต้น
2) ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งทีใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้
3) ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เนื่องจากข้อจำกัดด้วยยุคสมัยเวลา และสถานที่ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น
 4) การสาธิต เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการ กระทำนั้น
 5) การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ การสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ เป็นต้น
6) นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สาระประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกันมากที่สุด
7) โทรทัศน์ โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้ เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน
8)ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู
9) การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์ ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือ ไม่ออกแต่ก็จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้

10)ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ
11) วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด การใช้กรวยประสบการณ์ของเดลจะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในเหตการณ์หรือการกระทำจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบ-การณ์รอง ต่อจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ด้วยการรับประสบการณ์โดยผ่านสื่อต่างๆ และท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียนเรียนจากสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


คุณค่าของสื่อการสอน
สื่อการสอนนับว่าเป็นสื่อสำคัญในการเรียนรู้เนื่องจากเป็นตัวกลางในการถ่ายทอด เนื้อหาจากผู้สอนไปยังผู้เรียน หรือเป็นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น สื่อการสอนจึงนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งกับผู้เรียนและผู้สอน ดังนี้

สื่อกับผู้เรียน
สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้เรียนดังนี้
- เป็นสิ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่าย ขึ้นในระยะเวลาอันสั้น และช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้าใจให้กับผู้เรียนทำให้เกิดความรู้สนุกสนานและไม่รู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน
- การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกันหากเป็นเรื่องของนามธรรมและยาก ต่อความเข้าใจ และช่วยให้เกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียน
- สื่อช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีในระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและกับผู้สอนด้วย
- สร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อเหล่านี้
- ช่วยแก้ปัญหาเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยการจัดให้มีการใช้สื่อในการศึกษารายบุคคล

สื่อกับผู้สอน
สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้สอนดังนี้
- การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆประกอบการเรียนการสอน เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น ทำให้ผู้สอนมีความกระตือรือร้นในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายแต่ เพียงอย่างเดียว และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้เพิ่มขึ้นด้วย
- ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหาเพราะสามารถนำสื่อมาใช้ซ้ำได้ และบางอาจให้นักศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
- เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลผลิตวัสดุและเรื่อง ราวใหม่ๆเพื่อใช้เป็นสื่อการสอน ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น

หลักการเลือกสื่อการสอน
การ เลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่ เหมาะสมต่อการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่นๆ เพื่อประกอบการพิจารณา คือ
                - สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
- เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ และเป็นสื่อที่ให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหานั้นได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
- เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
- สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
- ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพ มีเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
- มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน

อ้างอิง : http://www.sahavicha.com/?name=media